วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

สรุปบทความ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหว

สรุปบทความ

บทความเรื่อง  กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย

     วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจ ำวันของคนเรา จะเห็นว่า แม้แต่เด็กปฐมวัยก็ยังได้รับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น พื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และ จะได้มีโอกาสพัฒนา และ ประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครูและผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
1. ทักษะการสังเกต
2.  ทักษะการจำแนกประเภท 
3.  ทักษะการทำนาย
4.  ทักษะการวัด 
5. ทักษะการคำนวณ
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุ 
8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

        การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนควรจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง เช่น พาเด็กๆไปทัศนศึกษา หาสื่ออุปกรณ์ของจริงที่เด็กได้หยิบ จับ ทดลองกระทำกับวัตถุสิ่งของจริง โดยประสบการณ์ที่จัดให้แก่เด็กนั้นจะต้องมีความหมายต่อเด็ก เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้ เคยพบเห็น และ สามารถนำมาปรับใช้ได้ในอนาคตโดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัย จะมีความคิด การใช้ภาษาอย่างจำกัด ทำให้เด็กอาจจะไม่สามารถถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ และ ความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายนัก การใช้คำถาม จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยทำให้ ครู และ ผู้ปกครอง มีความเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น คำถามที่ท้าทาย และ กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ จะส่งเสริมให้เด็กคิดหาคำตอบ ด้วยวิธีการทดลอง ลงมือทำ หรือ หาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ตัวอย่างคำถามที่ท้าทายให้เด็กลองทำนายจากข้อมูลที่มีอยู่กิจกรรมประกอบอาหารที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ และ เหมาะสมกับระดับปฐมวัย ควรจะเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าเป็นกิจกรรมประกอบอาหารที่ต้องใช้ความร้อน หรือ ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความคม และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก ผู้ปกครอง หรือ ครูควรที่จะช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ ตัวอย่างของกิจกรรมประกอบอาหารที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ และ เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เช่น การทำบัวลอย ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน แซนวิช เป็นต้น

จะเห็นว่า นอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และ สนุกกับการเป็นผู้ลงมือทำอาหารด้วยตนเองแล้ว กิจกรรมประกอบอาหารยังส่งเสริมให้เด็กๆได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหวผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหว

สรุปวิจัย

   
  สรุปวิจัย
วิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
THE DEVELOPMENT OF SCIENCE PROCESS SKILLS OF YOUNG CHILDREN
EXPERIENCING LEARNING ACTIVITY WITH EXERCISED BOOK PACKAGE


เนื้อหา
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้
กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมา ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำ ได้รับประโยชน์จริง
ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ 
(Brain - Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา

กลุ่มตัวอย่างนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน15 คน

สรุป
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยจะกระตุ้นให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของ กีเซล (Gesell) ที่เน้นว่าการให้อิสระเด็กทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริงแล้วต้องให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง รู้จักถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ตนเองสงสัย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับรู้กระบวนการและเจตคติ ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการส่งเสริมทักษะการสื่อสารและกระตุ้นให้สนใจด้วยความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร ์ มีความสงสัยคำถามในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัว มีความมุ่งมั่นและมีความสุขที่จะศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่ คำตอบของคำถาม สามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารคำถาม คำตอบ ข้อมูล และสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ผู้เรียนจึงมีความสนใจใฝ่เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้นอกสถานที่ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาสนทนา พูดคุย อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย และยิ่งไปกว่านั้นเด็กสามารถสื่อความหมายโดยการทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ได้อย่างสวยงามและถูกต้องทุกคน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนเคลื่อนไหว